ประกอบด้วยส่วนผสมของหินย่อยกับยางแอสฟัลท์ ส่วนผสมดังกล่าวเหมาะที่จะใช้เป็นผิวจราจร ใช้ดาดท้องคลอง การผลิตคอนกรีตแอสฟัลท์ทำ ได้หลายวิธี แต่วิธีที่เหมาะสำหรับประเทศไทยมี 2 วิธี คือ
กรรมวิธีในการทำ คอนกรีตแอสฟัลท์ผสมเสร็จคือต้องมีโรงงานหรือสถานที่ผสม (Plant) โดยให้ความร้อนแก่หิน และยางจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องในอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ เมื่อผสมจนได้ที่จึงเทใส่รถบรรทุกแล้วนำ ไปยังสถานที่ก่อสร้างเทลงในเครื่องปูคอนกรีตแอสฟัลต์ (Asphalt concrete paving machine or paver) ปูตามความหนาที่ต้องการแล้วบดอัดด้วยรถบดล้อเหล็ก หรือล้อยาง ตามลำดับ
แอสฟัลต์คอนกรีตแอสฟัลท์ที่ผสมโดยวิธีนี้ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดแต่มีราคาค่อนข้างแพง เพราะต้องใช้เครื่องจักร และเครื่องมือหลายชนิด ส่วนคอนกรีตแอสฟัลต์แบบผสมในสนามทำได้โดยลาดแอสฟัลท์บนพื้นผิวที่ได้เตรียมไว้ แล้วเกลี่ยมวลรวม เช่น หินย่อย หรือกรวดย่อยปิดทับแล้วทำ การบดทับให้เรียบ เรียก “Surface Treatment” ผิวทางประเภทนี้อาจทำ เพียงชั้นเดียว (Single Bituminous Surface Treatment‚ SBST ) สองชั้น (Double Bituminous Surface Treatment‚ DBST ) หรือหลายชั้น (Multi Bituminous Surface Treatment‚ MBST ) ผิวทางแบบนี้คุณภาพไม่ดีเท่าแบบผสมเสร็จ แต่ทำได้รวดเร็ว และมีราคาถูกกว่า
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
|
|
|
|