สอบถาม / สั้งซื้อ : 089-045-1045 , 087-700-7788
Call center: 02-9486988-9
ID LINE: Lertthavorn
คลิกที่linkเพื่อแอดไลน์ได้เลยค่ะ -->> http://line.me/ti/p/~Lertthavorn
ไม้แปรรูปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- ไม้เนื้ออ่อน ได้แก่ไม้ที่ค่อนข้างเหนียว ทำการเลื่อยไสกบตกแต่งได้ง่าย ลักษณะเนื้อมีสีซีดจาง น้ำหนักเบา ขาดความแข็งแรงทนทาน เช่น ไม้ฉำฉา
- ไม้เนื้อเข็ง ได้แก่ไม้ที่มีเนื้อแข็งปานกลาง ทำการเลื่อยไส กบตกแต่งได้ยาก ลักษณะเนื้อไม้มีสีเข้มค่อนไปทางสีแดง มีความแข็งแรงทนทาน เช่น ไม้ชิงชัน ไม้กะบาก ไม้ยาง ไม้มะม่วง
- ไม้เนื้อแกร่ง ไม้ที่มีเนื้อแกร่ง ทำการเลื่อยไสกบแต่งได้ยากมาก ลักษณะเนื้อไม้เป็นมันในตัว แน่น ลายละเอียด น้ำหนักมาก มีสีเข้มจัด จนถึงสีดำ มีความแข็งแรงทนทานดีมาก เช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้เกลือ
ไม้เนื้ออ่อน
- ไม้ต้นมะพร้าว เนื้อมีความหนาแน่นใช้เป็นโครงสร้าง ความหนาแน่นตรงริมมีมากกว่าตรงกลางต้นตอนกลางๆ
- ไม้สยาแดง เป็นไม้เนื้ออ่อน มีความทนทานพอสมควร ไม่ควรอยู่ในที่ชื้น เนื้อไม้ออกสีแดงเสี้ยนละเอียด ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งทำบานประตูหน้าต่าง ไม่ต้องอบแห้ง
- ไม้เบญจพรรณ เป็นไม้เนื้ออ่อนไม่ทนทานควรเก็บในที่ร่ม ไม่ควรอยู่ในที่ชื้นเพราะปลวกขึ้นได้ง่าย มีไม้หลากหลายชนิด ออกสีแดงเหลือง ขาว เมาะสำหรับงานก่อสร้าง ทำโครงเฟอร์นิเจอร์ มีหลากหลายขนาด ได้แก่ 1×6, 1×8, 1×10, 1.5นิ้ว x 3นิ้ว ความยาวเริ่มตั้งแต่ 1 - 6 เมตร
ไม้เนื้อแข็งปานกลาง
- ไม้ยาง เป็นต้นไม้สูงใหญ่ สูงชะลูด ไม่มีกิ่งที่ลำต้น มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าดิบชื้น และที่ต่ำชุ่มชื้นตามบริเวณใกล้เคียงแม่น้ำลำธารในป่าดิบและป่าอื่นๆ ทั่วไป ลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็งกลาง มีความแข็งแรงไม่ควรอยู่ในที่ชื้น ใช้สำหรับก่อสร้างบ้านเรือน โครงเฟอร์นิเจอร์ เนื้อไม้ออกสีแดงอมชมพูหรือสีน้ำตาลหม่น เสี้ยนมักตรงเนื้อหยาบ
- ไม้กระบาก หรือไม้กะบาก เป็นต้นไม้สูงใหญ่ขึ้นปะปรายในป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณขึ้นทั่วประเทศ ลักษณะเนื้อไม้โดยรวมมีตั้งแต่นวลเหลืองถึงน้ำตาลอ่อนแกมแดงเรื่อๆเสี้ยนมักตรงเนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ แข็ง เหนียว ไสกบตกแต่งได้ไม่ยาก
ไม้เนื้อแข็ง
- ไม้เต็ง เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ตามป่าแดดทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้ส่วนนอกจะมีสีสว่างมากมากกว่าส่วนแก่นไม้มีสีเหลืองสดเมื่อเลื่อยใหม่ และจะออกสีน้ำตาลเมื่อโดนแดด เสี้ยนไม้หยาบแข็ง เนื้อไม้มีความหนาแน่นสูง มีความทนทานดูแลรักษาง่าย เหมาะกับงานก่อสร้างที่แบกรับน้ำหนักมาก เช่น สะพาน พื้นบ้าน บันได
- ไม้แดง เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น ลักษณะเนื้อไม้มีสีแดงเรื่อ หรือสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่นหรือสับสน เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็งเหนียวแข็งแรงทนทาน เลื่อยไสกบแต่งได้เรียบร้อยขัดชักเงาได้ดี เหมาะสำหรับ ทำพื้น วงกบประตูหน้าต่าง ไม้แดงปลวกหรือเพรียงจะไม่ค่อยรบกวน และไม้ที่ต้านทานไฟในตัวด้วย
- ไม้ตะเคียนทอง เป็นต้นไม้ใหญ่และสูงมากขึ้นเป็นหมู่ตามป่าดิบชื้นทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้มีสีเหลืองหม่นสีน้ำตาลอมเหลืองมักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ เสี้ยนมักสับสนเนื้อละเอียดปานกลาง แข็ง เหนียว ทนทาน ทนปลวกได้ดี เลื่อยไสกบแต่งและชักเงาได้ดีมาก เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน
- ไม้ตะแบก เป็นต้นไม้สูงใหญ่โคนมีลักษณะเป็นพู ลักษณะเนื้อไม้มีสีเทาจนถึงสีน้ำตาลอมเทาเสี้ยนตรงหรือเกือบตรง เนื้อละเอียดปานกลาง เป็นมัน แข็งเหนียว แข็งแรงทนทานดีถ้าใช้ในที่ร่มไม่ตากแดดตากฝน ใช้ทำเสาบ้านท่าเรือ แพ
- ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณ ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีเหลืองทองนานเข้าจะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแก่ มีกลิ่นเหมือนหนังฟอกเก่าๆ และมีน้ำมันในตัวมักมีเส้นสีแก่แทรกเสี้ยนตรง เนื้อหยาบไม่สม่ำเสมอ แข็งแรงทนทานที่สุดปลวกมอดไม่ทำอันตราย นิยมนำไปทำเครื่องเรือน แกะสลักต่างๆ
- ไม้แคมปัส เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความทนทานดูแลรักษาง่าย ใช้กับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรง
http://www.thaicarpenter.com
การซื้อขายไม้แปรรูป(ไม้สัก) จะขายในลักษณะเป็นลูกบาศก์ฟุต
= หนา (นิ้ว) x กว้าง (นิ้ว) x ยาว (ฟุต) หาร 144
ตัวอย่าง ไม้ขนาด กว้าง2 นิ้ว ยาว 10 ฟุต หนา 1นิ้ว คิดเป็นปริมาตรไม้เท่าไร
ปริมาตรไม้ = 2 x 10 x 1
= 20 หาร 144
= 0.1389 ลูกบาศก์ฟุต
การเปรียบเทียบขนาดไม้แปรรูปเป็นนิ้วและมิลลิเมตร
Nominal size (in.) |
Actual dry size (in.) |
Dry size (mm) |
1 x 2 |
¾ x 1 ½ |
19 x 38 |
1 x 4 |
¾ x 3 ½ |
19 x 89 |
1 x 6 |
¾ x 5 ½ |
19 x 140 |
1 x 10 |
¾ x 9 ¼ |
19 x 235 |
1 x 12 |
¾ x 11 ¼ |
19 x 285 |
2 x 4 |
1 ½ x 3 ½ |
19 x 89 |
2 x 6 |
1 ½ x 5 ½ |
19 x 140 |
2 x 10 |
1 ½ x 9 ¼ |
19 x 235 |
2 x 12 |
11 ½ x 11 ¼ |
19 x 285 |
3 x 6 |
2 ½ x 5 ½ |
19 x 140 |
4 x 4 |
3 ½ x 3 ½ |
19 x 89 |
4 x 6 |
3 ½ x 5 ½ |
19 x 140 |
สอบถาม / สั้งซื้อ : 089-045-1045 , 087-700-7788
Call center: 02-9486988-9
ID LINE: Lertthavorn
คลิกที่linkเพื่อแอดไลน์ได้เลยค่ะ -->> http://line.me/ti/p/~Lertthavorn